วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ดอกจามจุรี


ต้นจามจุรี หรือมักเรียก ต้นฉำฉา/สำสา หรือ ต้นก้ามปู (Rain tree) เป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วที่ให้เยื่อ และเนื้อไม้ชนิดหนึ่ง นอกจากนั้น เป็นไม้ที่มีกิ่งก้านยาว ปลายกิ่งแตกกิ่งจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็กแต่ดก จนมีลักษณะเป็นทรงพุ่มให้ร่มเงาได้มาก
ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาจากเรือนยอดที่แผ่กว้าง การให้เนื้อไม้สำหรับทำเครื่องเรือนเนื่องจากมีลวดลายสวย และการปลูกเพื่อเลี้ยงครั่งเป็นหลัก
ประวัติต้นจามจุรี
ต้นจามจุรีมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกในประเทศไทยจากประเทศพม่า เมื่อประมาณปี 2443 (ค.ศ. 1900) โดยมิสเตอร์เอ็ชเสลด (Mr. H. Slade) ที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกของไทย โดยนำำไปทดลองปลูกตามข้างถนนของที่ทำการกรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ และบางส่วนได้นำไปปลูกที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งสมัยนั้นยังเรียกชื่อต้นจามจุรีว่า “ต้นกิมบี้” ปัจจุบันต้นจามจุรีมักเรียกเป็นชื่ออื่น เช่น ภาคเหนือ และภาคอีสานมมักเรียก ต้นฉำฉา/สำสา หรือ ต้นก้ามปู และชื่ออื่น เช่น สารสา ก้ามกุ้ง ลัง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
รากจามจุรีมีระบบเป็นรากแก้ว และแตกรากแขนงออกด้านข้าง รากแขนงมักแทงออกตามแนวนอนขนานกับผิวดินในระดับตื้นที่อาจยาวได้มากกว่า 10 เมตร เพื่อเป็นฐานพยุงลำต้นที่มีลักษณะทรงพุ่มกว้างใหญ่

ลำต้นมี ลักษณะค่อนข้างกลม ไม่สมมาตร แตกกิ่งในระดับต่ำประมาณ 3-5 เมตร กิ่งประกอบด้วยกิ่งหลัก และกิ่งแขนง เปลือกลำต้นของต้นอ่อนมีสีขาวเทา เมื่อต้นแก่จะมีสีดำเป็นแผ่นสะเก็ด กิ่งอ่อนมีสีขาวเทา กิ่งแก่มีสีน้ำตาล
2. ใบ
ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก โคนใบเล็ก ปลายใบมนกว้าง ประกอบด้วยก้านใบหลัก และก้านใบย่อย โดยก้านใบหลักจะแทงออกบริเวณปลายกิ่ง เรียงสลับข้างกัน ก้านใบหลัก 1 ก้าน มีก้านใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ แต่ละคู่อยู่ตรงข้ามกันบนก้านใบ ก้านใบแต่ละคู่ มีจำนวนใบย่อยแตกต่างกัน ก้านคู่แรกจะมีจำนวนใบย่อยน้อยที่สุด 2-3 คู่ใบย่อย ส่วนก้านใบย่อยคู่ที่ 3-5 จะมีใบย่อยประมาณ 56 คู่ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง และสีน้ำตาลตามลำดับจนถึงระยะร่วงของใบ ใบจะแตกออกบริเวณกิ่งแขนงบริเวณปลายยอด ไม่พบใบที่กิ่งหลัก

3. ดอก
ดอกจามจุรีเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน ดอกออกเป็นช่อ แทงออกบริเวณปลายกิ่งเหนือซอกใบ มีก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสั้นเล็กสีเหลือง เมื่อดอกบานจะแตกก้านเกสรออกมาให้เห็น เป็นสีสวยงาม ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ที่เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เมื่อดอกบานเกสรจะมีสีขาว และเมื่อแก่ปลายเกสรจะมีสีชมพูสวยงาม

4. ผลหรือฝัก
ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปทรงแบนยาว คล้ายฝักถั่ว ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลจนถึงดำเมื่อฝักสุก ฝักแก่กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ขอบฝักเป็นแนวตรงเสมอกัน และมีเส้นสีเหลืองตามขอบ ร่องฝักนูนบริเวณที่มีเมล็ด และถูกหุ้มด้วยเนื้อผลสีน้ำตาล และช่วงระหว่างเมล็ดเป็นร่องที่ประกอบด้วยเนื้อสีน้ำตาลเช่นกัน เนื้อผลจามจุรีมีรสหอม และหวานมาก สามารถนำมารับประทานได้

ประโยชน์จามจุรี
1. เนื้อไม้ ใช้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้างบ้าน ไม้ปูพื้น ไม้ฝ้า ไม้ผนัง คาน ขอบหน้าต่าง หน้าต่าง บานประตู และที่สำคัญนิยมใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลายชนิด เนื่องจากมีลายไม้ที่สวยงาม และเนื้อไม้แข็งแรง เช่น ทำโต๊ะ เก้าอี้ ตู้เสื้อผ้า เป็นต้น รวมถึงงานแกะสลักประเภทต่างๆ เนื่องจากมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เมื่อขัดจะขึ้นเงามันงาม

เนื้อไม้ จามจุรีวงนอกจะมีสีขาวเหลือง ด้านในที่เป็นแก่นมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เป็นลายด่างสวยงาม เนื้อไม้มีค่าความแข็งประมาณ 135 กิโลกรัม มีค่าโมดูลัสแห่งการแตกร้าวประมาณ 616 กก./ตร.ซม. น้อยกว่าไม้กะบากที่มีค่า 650 กก./ตร.ซม. และเนื้อไม้จามจุรีมีค่าความเหนียวเพียง 1.82 กก.-เมตร น้อยกว่าไม้กะบากที่มีค่า 3.57 กก.-เมตร
2. ต้นจามจุรีมีทรงพุ่มกว้าง ใบดก ให้ร่มเงาได้ดีมาก จึงนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาตามหัวไร่ปลายนา ข้างถนนสำหรับคนเดินทาง สถานที่ราชการสำหรับประชาชน รวมถึงปลูกเป็นไม้ประดับด้วยการตัดแต่งไม่ให้มีลำต้นสูง และแตกกิ่งยาวมากนัก นอกจากนั้น ยังใช้เป็นที่เกาะของเฟริน์ และกล้วยไม้ได้ด้วย
3. กิ่งอ่อนของต้นจามจุรีมีเยื่อเปลือกอ่อนที่เป็นอาหารของครั่ง จึงนิยมปลูกสำหรับปล่อยเลี้ยงครั่ง ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก ต้นจามจุรีที่นิยมใช้เลี้ยงครั่งจะเป็นชนิดดอกสีชมพู เปลือกสีดำ มีใบเขียวเข้ม ชนิดนี้ครั่งจะจับได้ดี และครั่งมีคุณภาพดี เมื่อเก็บครั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะให้คุณภาพในชั้น A และ B เป็นส่วนใหญ่ ผลิตครั้งได้ 5-10 กิโลกรัม/ต้น ที่อายุต้นประมาณ 6 ปี หากต้นมีตั้งแต่ 10 ปี อาจได้มากกว่า 20-50 กิโลกรัม/ต้น ส่วนชนิดอื่นก็สามารถใช้เลี้ยงได้เช่นกัน แต่อาจมีผลผลิตที่ต่ำกว่าเล็กน้อย
4. เนื่องจากต้นจามจุรีเป็นพืชในตะกูลถั่ว ใบมีสารอาหารหลายชนิดจึงนิยมนำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร แพะ แกะ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังใช้ร่วมกับฝักแก่สำหรับเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากฝักมีรสหวานเป็นที่ชอบของสัตว์บางชนิด เช่น โค กระบือ
5. ฝักแก่ สามารถนำมาหมักเป็นเหล้าหรือผลิตแอลกอฮอร์ได้ โดยฝักแก่ที่มีขนาดใหญ่ 100 กิโลกรัม สามารถผลิตแอลกอฮอล์ได้มากกว่า 11 ลิตร
6. ฝักแก่ นำเอาเมล็ด และเปลือกออก เหลือเฉพาะเนื้อฝักใช้รับประทานเป็นอาหาร ให้รสหอมหวานมาก รวมถึงนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มก็ได้
คุณค่าทางอาหารของฝัก และเมล็ดแก่
วัตถุแห้ง
– ฝักไม่มีเมล็ด 81.51%
– เมล็ด 86.50%

เถ้า
– ฝักไม่มีเมล็ด 4.01%
– เมล็ด 4.30%

เส้นใย
– ฝักไม่มีเมล็ด 9.43%
– เมล็ด 14.00%

โปรตีน
– ฝักไม่มีเมล็ด 9.64%
– เมล็ด 31.6%

7. มีการศึกษาพบสารพิธทิโคโลไบ ในกลุ่มของสารอัลคาลอยด์ ที่พบมากในเปลือก แก่น ใบเปลือกฝัก และเมล็ด เมื่อนำมาสกัดจะได้ฤทธิ์ทำลาย และกดปลายประสาท ใช้ทำยาสลบ
8. ใบที่ร่วงจากต้นจามจุรี หากกวาดกองรวมกันจะได้จำนวนมาก นำมาใช้ประโยชน์ทำเป็นปุ๋ยหมักหรือนำไปโรยใต้ต้นไม้ โรยตามไร่ นา ช่วยเป็นปุ๋ยแก่พืชได้
9. ลำต้น และกิ่ง ใช้ทำฟืนให้พลังงานสำหรับหุงหาอาหารในครัวเรือน
สรรพคุณจามจุรี
1. ราก นำมาต้มดื่ม รักษาอาการท้องร่วง นำมาฝนทาแผล รักษาแผลอักเสบ เป็นหนอง
2. ฝักหรือผลสุก นำมารับประทาน ช่วยบำรุงร่างกาย
3. ใบนำใบสดมาต้มน้ำดื่ม หรือตากแห้งใช้ชงเป็นชาดื่ม ช่วยรักษาโรคท้องร่วง
4. เปลือกต้น มีรสฝาด นำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคท้องเสีย ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้ฝนหรือบดทารักษาแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ใช้รักษาแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน นำมาเคี้ยวช่วยลดอาการเหงือกบวม แก้ปวดฟัน
5. เมล็ด มีรสฝาด นำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคท้องเสีย ท้องร่วง ใช้ฝนหรือบดทารักษาแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ใช้รักษาแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

ดอกชมจันทร์

ดอกชมจันทร์ ไม้ประดับกินได้ มากคุณค่าทางโภชนาการ
 ทำความรู้จักกับ ดอกชมจันทร์ หรือชื่ออื่น ๆ เช่น ดอกพระจันทร์ ดอกบานดึก ขั้นตอนการปลูกต้นชมจันทร์ พร้อมประโยชน์ของดอกชมจันทร์ที่มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย รวมถึงเมนูอร่อยจากดอกชมจันทร์ ที่คุณห้ามพลาด

          ใครที่ชื่นชอบอาหารเพื่อสุขภาพ และกำลังสนใจใน ดอกชมจันทร์ ไม้ประดับสวยงาม ที่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ยังไม่รู้จักหน้าตาของดอกชมจันทร์ รวมทั้งไม่ทราบว่า สรรพคุณดอกชมจันทร์เป็นอย่างไร เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้รับทราบกันแล้วจ้า...

          สำหรับที่มาของชื่อ ดอกชมจันทร์ ดอกพระจันทร์ หรือดอกบานดึก คาดว่า เรียกตามช่วงเวลาการบานของดอก ที่จะบานในช่วงกลางคืนตั้งแต่ประมาณ 19.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้เว็บไซต์ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับดอกชมจันทร์ไว้ดังนี้

             ชื่อ : บานดึก

             ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea alba   Linn.  Share

             ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

             ชื่อเรียกอื่น : ดอกพระจันทร์, ดอกชมจันทร์ และแสงนวลจันทร์

             ลักษณะ : ไม้เถา ไม่มีขน ลำต้นมียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-13 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ก้านใบเรียว ยาว 5-18 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลิ่นหอม บานตอนเช้าและพลบค่ำ ออกตามง่ามใบเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ 2-5 ดอก เมื่อบานเต็มที่ กว้าง 10-13 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 1-20 เซนติเมตร
ดอกชมจันทร์ ไม้ประดับกินได้ มากคุณค่าทางโภชนาการ


            สำหรับกลีบรองดอก มี 5 กลีบ กลีบดอกส่วนโคนเป็นหลอดแคบเรียวยาว ส่วนบนบานกว้าง เป็นกลีบแผ่ติดกัน 5 กลีบ เกสรผู้ 5 อัน เกสรเมียยื่นโผล่พ้นดอกเล็กน้อย ผลรูปไข่ปลายแหลมยาว ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร กลีบรองดอกติดอยู่ที่ฐาน เมล็ดมี 4 เมล็ด

             การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นตามชายห้วยหรือในป่าดิบที่ชุ่มชื้น ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเล จนถึง 700 เมตร

          นอกเหนือจากข้อมูลข้างต้นนี้ ยังพบว่า ดอกชมจันทร์ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย พืชในสกุลนี้มีประมาณ 650 ชนิด ซึ่งมีมากที่สุดในวงศ์ หลายชนิดเป็นไม้ประดับที่รู้จักกันดี คือ มอร์นิ่งกลอรี่ หรือผักบุ้งฝรั่ง และบางชนิดสามารถรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี เช่น ผักบุ้ง และมันเทศ และบางชนิดยังใช้เป็นยาสมุนไพรด้วย

 วิธีการขยายพันธุ์

          ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะเมล็ดมาแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วงอกได้เร็วขึ้น โดยใช้เวลานานประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันสามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้นได้เช่นกัน

 วิธีการปลูก

          ต้นชมจันทร์สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ต้องระบายได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจยกแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนวิธีปลูกมีดังนี้

          1. ขุดหลุมปลูกลึก 15-20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม

          2. นำต้นกล้าลงปลูก ระหว่างต้น 40-50 เซนติเมตร และระหว่างแถว 70-100 เซนติเมตร

          3. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูก ควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง

          4. เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอด ควรมีการทำค้าง คล้ายกับค้างถั่วฝักยาว หรือทำเป็นซุ้ม โดยหลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก
ดอกชมจันทร์ ไม้ประดับกินได้ มากคุณค่าทางโภชนาการ

 ประโยชน์ดอกชมจันทร์

          ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืน และกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก จากผลการวิเคราะห์พบสรรพคุณดอกชมจันทร์ ดังนี้

          1. ดอกชมจันทร์เป็นผักที่ไขมันต่ำและมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

          2. ดอกชมจันทร์มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ
 ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

          3. ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ขณะที่เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ จึงช่วยให้หลับสบาย

 การบำรุงรักษา

          การบำรุงรักษาต้นชมจันทร์เมื่อผลผลิตเริ่มลดลง หรือสังเกตเห็นว่าต้นโทรม ผู้ปลูกจะต้องตัดแต่งให้แตกต้นใหม่ พร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอกบำรุง พร้อมให้น้ำเช้า-เย็น เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อน จากนั้นประมาณ 2 เดือนจึงเริ่มเก็บผลผลิตได้อีกครั้ง กระทั่งต้นมีอายุ 2 ปี จึงเอาออกและปลูกใหม่อีกครั้ง

          นอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เรายังสามารถนำดอกชมจันทร์ไปปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เพราะเข้ากันดีกับทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักอื่น ๆ เช่น
              นำดอกชมจันทร์มาต้มกับน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลอ้อย แล้วดื่มในช่วงเช้าเพื่อช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น และบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร

              ต้มดอกชมจันทร์ 30 กรัม กับถั่วแดง 30 กรัม เติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดื่มเพื่อขับปัสสาวะคลายร้อน และเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหินเรื้อรัง

              นึ่งหมูเนื้อแดงกับดอกชมจันทร์ รับประทานเพื่อเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด

          สำหรับผู้ที่ต้องการนำดอกชมจันทร์ไปปรุงเป็นอาหารคาว ทั้งเมนูผัดแสนอร่อย และเมนูแกงส้มรสแซ่บ วันนี้เรามีเมนูดอกชมจันทร์จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่งมามาฝากด้วยค่ะ ถ้าสนใจคลิกที่นี่เลยกระต่ายหมายจันทร์ เมนูดอกชมจันทร์ อร่อยหลากรส 


ดอกชมนาค


ชมนาดหรือชำมะนาด ไม้เถาเลื้อยที่ออกดอกดูเป็นพวงสีขาวสวยงาม มีกลลิ่นหอม ดอกสวยๆหอมๆนั้นมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายแรงมาก แต่ปกติแล้วนิยมปลูกเป็นไม้ประดับไม่ได้นำดอกมาเป็นอาหารเหมือนดอกไม้บางชนิดที่กินได้ สรรพคุณของชำมะนาดมีดังนี้


ชำมะนาด       ชำปะนาด, หางเม่นเครือ , หญ้าช้างย้อย ,หญ้าช้างน้อย ( เหนือ) ,อุ่มฟูม ( อีสาน)
สรรพคุณ 
ยาง  รสร้อนเมา ใส่แผลสด สมานแผลและห้ามเลือด
ดอก   รสเมาร้อน   ถ่ายน้ำเหลือง  ทำให้อาเจียน  มีฤทธิ์แรงมาก  เป็นยาอันตราย

(ขอบคุณสรรพคุณ ชำมะนาดจากหนังสือสารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมโดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช)
ก็สงสัยมานานค่ะว่า ชมนาดกับชำมะนาดใช้ดอกไม้เดียวกันหรือไม่  พอดีได้เขียนบันทีกชาดอกพิกุล และ ข้าวหุงด้วยน้ำดอกคูน น้องภูสุภา ถามไว้ว่า ดอกชมนาด แก้ว และลั่นทม กินได้ไหม จะเขียนบันทึกแต่ไม่ได้เขียนสักทีจึงถือโอกาสเขียนก่อนในวันนี้ ภาพเตรียมไว้พร้อมแล้ว มีชมนาดที่พึ่งพบว่ามีภาพเดิมตั้งแต่พืชสวนโลกปี 2549 ในสวนไม้หอม ไว้ภาพหนึ่งจึงทำให้ทราบว่าเรียกอีกชื่อว่า ชำมะนาด 

หลายๆบ้านคงปลูกไว้แล้วนะคะ ลักษณะดอกชมนาดจะคล้ายดอกจันทร์กะพ้อเลื้อยมาก
 ดอกของชมนาดปลายกลีบดอกแหลม 

ส่วนดอกจันทร์กะพ้อเลื้อยหรือเครือหรือเถา ปลายกลีบดอกกลม ไม่มีเกสรแหลมกลางดอก 
ใบเล็กกว่าชมนาด  ดอกหอมมากตอนกลางคืน

ดอกประดู่

อกไม้ประจำชาติพม่า คือ ดอกประดู่ (Padauk)
ดอกประดู่ เป็นดอกไม้ที่เกิดจากต้นประดู่ มีชื่อเรียกอื่นๆหลายชื่อ เช่น ประดู่อังสนา ดู่ป่า อะนอง และ ดู่ เป็นต้น ต้นประดู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ โดยเมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงราว 10-20 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกสีเทาถึงดำ มักแตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหนาขนาดใหญ่ ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง
ดอกประดู่ เป็นดอกไม้ขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นช่อ มักออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกประดู่มีสีเหลืองทองสวยงาม ออกดอกในช่วงเดือนเมษายน หรือช่วงก่อนฤดูฝนของทุกปี ช่าวพม่านิยมใช้ดอกประดู่ในงานมงคลและการบูชาพระ โดยชาวพม่าให้ความหมายของดอกประดู่ไว้ว่า ดอกประดู่เปรียบเสมือนความคงทน และความแข็งแรง
ดอกประดู่

ดอกการะเวก


กระดังงา หรือ การเวก เป็นไม้รอเลื้อยที่นิยมปลูกมากในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เพราะเป็นไม้ที่แตกกิ่งมาก ให้ใบดกเขียวทั้งปี และมีอายุยืนนาน รวมถึงทนต่อสภาพอากาศร้อน และทนต่อภาวะมลพิษทางอากาศได้สูง จึงนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา และช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมถึงเป็นได้ประดับดอกด้วย
กระดังงา หรือ การเวก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตอนใต้ และศรีลังกา สันนิษฐานว่าถูกนำเข้ามาเผยแพร่ และนำเมล็ดเข้ามาปลูกผ่านทางพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงสมัยอยุธยาในหมวดสินค้าที่เกี่ยวกับน้ำหอมหรือพืชที่ให้ความหอม
• วงศ์ : Annonaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys hexapetalus (Linn.f.) Bhandari.
• ชื่อพ้อง : Artabotrys siamensis Miq.
• ชื่อพื้นเมือง :
ภาคกลาง และทั่วไป
– การเวก
– กระดังงาจีน
ภาคเหนือ
– สะบันงาจีน
– สะบันงาเครือ
ภาคใต้
– กระดังงาเถา
ภาคตะวันตก (ราชบุรี)
– กระดังงาป่า
– หนามควายนอน

ขอบคุณภาพจาก www.senseofkrabi.com
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
กระดังงา/การเวก เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งที่มีเถาขนาดใหญ่ และมีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นมีผิวเรียบสีเทาจนถึงดำ โดยเฉพาะต้นที่มีอายุมากจะมีลำต้นสีดำ และมีปุ่มนูนสลับกันตามความสูงของลำต้น โดยแตกกิ่งเลื้อยยาวจำนวนมากบริเวณส่วนปลายของต้น กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีเขียว

ใบ
ใบกระดังงา/การเวก แทงออกเป็นใบเดี่ยว เยื้องสลับข้างกันบนกิ่ง แผ่นใบเรียบ มีรูปทรงรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขนาดกว้าง 4-8 ซม. ยาว 12-18 ซม. ใบค่อนข้างหนา และเหนียว ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใต้ใบมีสีอ่อนกว่า และมีขนตามเส้นใบ

ขอบคุณภาพจาก www.ss-botany.org
ดอก (ตามรูปด้านบน)
ดอกกระดังงา/การเวก อาจแทงออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่มหลายดอก 2-5 ดอก มีก้านดอกโค้งงอ สีเขียว ดอกอ่อนหรือดอกตูมที่ยังไม่บานจะมีรูปทรงกรวย ปลายดอกแหลม เมื่อบานจะกลีบดอกจะแผ่ออก และมีกลิ่นหอม จำนวนกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ แต่ละกลีบแยกจากกัน มีรูปรี ปลายกลีบแหลม เรียงสลับกันจำนวน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ โดยกลีบดอกชั้นในจะสั้น และเล็กกว่าชั้นนอก ขนาดกลีบยาวประมาณ 3-4 ซม. โดยกลีบดอกจะบานในช่วงเช้าตรู่ และไม่หุบกลับจนกว่าดอกจะร่วง ทั้งนี้ ดอกกระดังงา/การเวกจะบานได้ตลอดทั้งปี และจะออกดอกมากในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล และเมล็ด
ผลกระดังงา/การเวกมีลักษณะค่อนข้างรี และป้อม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง แดง และสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด

ผลการเวก
ประโยชน์กระดังงา/การเวก
1. ดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ทำน้ำหอม และยาหอม ใช้ทานวด และใช้ในด้านความสวยความงาม
2. ดอกนำมาห่อรวมกันในใบ และสูดดม ช่วยในการผ่อนคลาย
3. ปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับดอก
4. ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
5. ปลูกเพื่อใช้เป็นแนวรั้วหรือเขตแดน
6. เนื่องจากระดังงาจะให้ใบจำนวนมาก ใบดกเขียวอยู่นาน จนเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี รวมถึงทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิ ทนต่อแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศสูง ทนต่อสภาพแห้งแล้ง จึงนิยมใช้ปลูกในเมืองใหญ่เพื่อให้ร่มเงา และช่วยบำบัดมลพิษทางอากาศ ดังที่พบเห็นตามข้างถนนในกรุงเทพมหานคร

สาระสำคัญที่พบ
ใบ
– Artabotrys-A และB
– Taxifolin
– Succinic acid
– Fumaric acid
เมล็ด
– Isoamericanin-A
– Isoamericanol-A
– Americanin-B
– Artabotrycinol
– Palmitic acid
– Beta-sitosterol
– Daucosterol

สาระสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากดอก
– ethyl acetate ประมาณ 47.3 %
– isobutyl acetate ประมาณ 26.8%
– ethyl butanoate ประมาณ 9.7%
– ethyl isobutanoate ประมาณ 9.2%

ที่มา : ทวี อินสุระ (2552) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ(1)
สรรพคุณกระดังงา/การเวก
ราก
– ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
– ช่วยฟื้นร่างกายหลังการคลอดบุตร
ลำต้น
– ใช้รักษาโรคในถุงน้ำดี
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์
ใบ
– ใช้รักษาอหิวาตกโรค
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์
– น้ำต้มจากใบใช้เป็นบาขับปัสสาวะ
ดอก
– ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียนศรีษะ
– น้ำต้มจากดอกนำมาดื่ม ช่วยแก้อาการท้องเสีย
– นำดอกมาต้มดื่ม ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และช่วยขับปัสสาวะ
ผล
– ใช้รักษาวัณโรค

การปลูก
การปลูกกระดังงา/การเวกนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง รวมถึงใช้วิธีการปักชำกิ่ง โดยการเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีขนาดใหญ่ และมีอายุยืนยาวกว่าการปลูกจากกิ่งที่ได้จากการตอนหรือการปักชำ แต่การเพาะด้วยเมล็ดจะงอกช้า เพราะเปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็ง และหนา ดังนั้น ควรแช่น้ำก่อน 1-2 วัน ก่อนเพาะ และเมื่อปลูกจนต้นมีขนาดใหญ่แล้ว จำเป็นต้องทำที่ค้ำยันเพื่อให้กิ่งพาดเลื้อยได้

ดอกเบญจรงค์

 ต้นเบญจรงค์ห้าสี(ต้นตำลึงหวาน ต้นบุษบาริมทาง ต้นแอ่มแซบ)

ลักษณะพืช

        ไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. บางครั้งเป็นเถา ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือกลม ขอบใบเรียบหรือหยักมน แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง ก้านใบยาวได้ประมาณ 2 ซม. ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะด้านเดียว ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 3 มม. มีขนยาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แฉกลึก กลีบรูปใบหอก ยาว 5-9 มม. มีขนกระจาย กลีบดอกรูปแตร ปลายบานออกมี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม สีเหลืองอ่อน สีขาวครีม สีชมพู หรือสีม่วง หลอดกลีบยาวได้ประมาณ 2 ซม. เรียวแคบจรดโคน ปากหลอดกลีบเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนด้านนอก กลีบกลมขนาดประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว2 อัน ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 2.5-3 มม. รังไข่ 2 ช่อง รูปขอบขนาน มีขนปกคลุม แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยาวประมาณ 2 ซม. มีขนที่โคน ยอดเกสรขนาดเล็ก ผลแบบแคปซูล รูปขอบขนาน ยาว 2.5-2.8 ซม. รวมก้านผล มีขนสั้นนุ่ม เมล็ด 4 เมล็ด เกลี้ยง




สรรพคุณ

           ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน

           ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน

           ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี

           รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต

           รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
 


           บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

           ใบ แก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ ใบและดอก สมานลำไส้ ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก แก้พิษงู และแก้ม้ามโตในเด็กที่เกิดใหม่
     ราก : แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้พิษฝีภายใน แก้ไข้เหนือขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว

ดอกเบญจมาศ

ทำความรู้จัก ดอกเบญจมาศ ดอกไม้มงคล

เบญจมาศ เป็นไม้ดอกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั่วโลกไม่ว่าจะปลูกเพื่อตัดดอกหรือปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางเพื่อใช้เป็นไม้ประดับสวน ซึ่งต้องถือว่าเบญจมาศเป็นไม้เศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากมีการซื้อขายมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากกุหลาบ   

เบญจมาศเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่าย มีหลายพันธุ์ และมีหลายสี
                นอกจากนี้ เบญจมาศ ยังเป็นไม้มงคลของประเทศจีน และเป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาใช้ประดับในงานพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งงานศพ หรือทุกๆ งานตามแต่ความต้องการ เพราะเนื่องจากเบญจมาศมีมากมายหลายพันธุ์ หลายรูปแบบ และมีหลายสี แม้แต่ดอกเก๊กฮวยก็เป็นหนึ่งในดอกไม้ตระกูลเบญจมาศเช่นกัน 
ด้วยความที่เบญจมาศ
ด้วยความที่เบญจมาศมีหลายลักษณะและมีหลากหลายสีสันมันจึงเป็นที่นิยมในการนำมาตกแต่งประดับในงานพิธีต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มความงดงามให้กับงานต่างๆ เหล่านั้น
วิธีการปลูกเบญจมาศ
ให้เตรียมแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามพื้นที่ประมาณ 2-3 เมตร จะเหมาะสม โดยทำเป็นกระบะไม้ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก แล้วผสมดินสำหรับชำราก ใช้ทราย 1 ส่วน + ดินร่วน 1 ส่วน ซึ่งถ้าเป็นดินใหม่ที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อนเลยจะดีมาก คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วตักรองพื้นแปลงไว้ให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตรรดน้ำพอชุ่ม เริ่มชำได้ทันที โดยแปลงกระบะชำรากต้องอยู่ในโรงเรือน แล้วติดหลอดไฟตูม แรงเทียน 100 วัตต์ ประมาณ 3-5 หลอดเพื่อกกไฟให้กับต้นอ่อน ส่วนการดูแลรักษารากชำเบญจมาศนั้นทำโดยเลือกเอายอดอ่อนของต้นเบญจมาศอายุประมาณ 7 วันตั้งแต่เริ่มเพาะ ไปทำการชำรากในแปลงที่เตรียมไว้ ความยาวของยอดเหมาะชำประมาณ 6-7 เซนติเมตร ซึ่งก่อนชำลงแปลงให้จุ่มรากต้นอ่อนในน้ำยาเร่งรากไม้ดอกก่อนแล้วจึงนำลงปักชำ ระยะห่างต้นและแถว 1-2 เซนติเมตร กดลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตรไปเรื่อยๆจนสุดแปลง โดยแบ่งชำเป็นรุ่นๆ ต่อเนื่อง จากนั้นใช้แกลบดิบปกคลุมหน้าดินให้มิด เพื่อเป็นการเก็บรักษาความชื้นหน้าดินไว้ ช่วยให้หน้าดินไม่แห้ง และช่วยเร่งรากต้นอ่อนให้ออกรากดียิ่งขึ้น เปิดไฟเพื่อเป็นการคุมแสงให้กับต้นอ่อนด้วยทุกวันๆละ 8 ชั่วโมง โดยการให้น้ำนั้นต้องดูที่ความชื้นหน้าดินหากหน้าดินยังชื้นอยู่ก็ไม่ต้องให้น้ำ เฉลี่ยแล้วก็รดน้ำวันละ 1 ครั้งก็พอ หลังจากนั้นดูแลต่อเนื่องประมาณ 13 วัน แต่อย่าเกิน 15 วัน ต้องย้ายต้นอ่อนลงปลูกตามปกติต่อไป หากเกินอายุ 15 วันไปแล้วจะทำให้ดูแลยาก

การเตรียมแปลงปลูก ดอกเบญจมาศ ให้เตรียมดินแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร อยู่ภายในโรงเรือนที่เหมาะสมอากาศถ่ายเทสะดวก ตากดินไว้อย่างน้อย 7 วัน ขึงพลาสติกสำหรับปลูกดอกไม้ให้สุดแปลง โดยหาไม้ไผ่มาผูกยึดทุกระยะ 2 เมตร เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของแปลงปลูก จากนั้นย้ายต้นอ่อนที่ชำครบอายุแล้วลงมาปลูกตามช่องตาข่ายที่ขึงไว้แล้วให้ครบทั่วทั้งแปลงแล้วดูแลรักษาต่อเนื่อง  และในส่วนการเก็บเกี่ยวเบญจมาศนั้นต้องตัดดอกให้ห่างโคนต้นประมาณ15-20 เซนติเมตร จากนั้นจึงไปปรับขนาดของก้านดอกตามความต้องการของตลาด แต่โดยรวมทั้งหมดขนาดของก้านต้องไม่ยาวเกิน 60 เซนติเมตร 
ด้วยความสวยและสดใสของ
ด้วยความสวยและสดใสของดอกเบญจมาศทำให้มันกลายเป็นไม้ดอกที่ขายดีเป็นอันดับสองของโลกรองจากกุหลาบ
การดูแลรักษาเบญจมาศนั้นหลังปลูก 7 วัน ให้ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 30 กิโลกรัม/แปลง โรยตรงร่องระหว่างแถวของต้นดอกไม้ แล้วเริ่มให้ไฟวันละ 4 ชั่วโมง ตั้งแต่ 22.00 – 02.00 น. ต่อเนื่อง 25 วัน และเมื่อดอกเบญจมาศอายุ 15 วัน ให้พรวนดิน แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 ประมาณแปลงละ 0.5 กิโลกรัม เพื่อเร่งรากและใบ ต่อมาเมื่อดอกเบญจมาศอายุ 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อีกครั้ง ในอัตราเท่าเดิมคือ 0.5 กิโลกรัม/แปลง และเมื่อดอกเบญจมาศครบ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1 กิโลกรัม/แปลง จากนั้นเริ่มตกแต่งตาดอก คือ เด็ดก้านดอกข้างลำต้นให้เหลือตรงปลาย 4-5 ดอก และเด็ดดอกตรงกลางด้วยเพราะดอกกลางจะบานก่อนเพื่อน หลังแต่งตาดอก 25 วัน ดอกไม้จะเริ่มแย้มและบานพร้อมกันทั้งหมดใน 30 วัน ก็จะสามารถทยอยเก็บดอกไม้เพื่อเริ่มจำหน่ายได้เรื่อยๆ แล้วแต่ความสมบูรณ์ของดอกแต่โดยรวมแล้วดอกเบญจมาศต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 103 วัน จะได้ดอกเบญจมาศที่สวย สมบูรณ์ และก้านตรง ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้ตลอดช่วงเวลาที่ดอกเบญจมาศเจริญเติบโตให้เลื่อนตาข่ายขึ้นเสมอตามความสูงของดอกไม้ ให้รักษาระดับที่ใต้ก้านดอก 20-25 เซนติเมตร เพื่อจะได้ดอกเบญจมาศมีก้านตรง ยาว สวยเพื่อพร้อมขาย 
ในประเทศญี่ปุ่นก็มีงาน
ในประเทศญี่ปุ่นก็มีงานเทศกาลดอกเบญจมาศด้วยเช่นกัน
และเนื่องจากเบญจมาศเป็นไม้ดอกที่เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ดังนั้นมันจึงสามารถสร้างเม็ดเงินให้เกษตรกรได้มากมาย โดยมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกเบญจมาศในพื้นที่แค่ 1 ไร่ 2 งาน แต่กลับสามารถสร้างรายได้ได้ถึงเดือนละเป็นแสน แถมยังมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงสวน ซึ่งสร้างความสะดวกในการประกอบอาชีพและลดต้นทุนในการลงทุนไปได้อีกด้วย แล้วอย่างนี้จะไม่ให้เกษตรกรผู้ปลูกกลายเป็นเศรษฐีโดยไม่รู้ตัวได้อย่างไร
การปลูกเบญจมาศตัด

ดอกจำปี

จำปี

จำปี


จำปี ชื่อสามัญ White Champaka, White Sandalwood, White Jade Orchid Tree
จำปี ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia alba DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia var. racemosa Blume) จัดอยู่ในวงศ์จำปา (MAGNOLIACEAE)
สมุนไพรจำปี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จุมปี จุ๋มปี๋ (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของจำปี

  • ต้นจำปี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่ามันมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย) สามารถแบ่งสปีชีส์ได้ประมาณ 50 ชนิด โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงกว่าใหญ่กว่าจำปาเล็กน้อย ที่มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแตกเป็นร่องถี่ ๆ กิ่งมีขนสีเทา เปราะและหักง่าย และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด
ต้นจำปี
  • ใบจำปี มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบสีเขียว โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนาและมีขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ดอกจำปี ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวมีกล่นหอม มีสีขาวคล้ายกับสีงาช้าง ดอกมีกลีบซ้อนกันอยู่ 8-10 กลีย กลีบดอกจะเรียวกว่าดอกจำปา และมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ส่วนตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ๆ ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็ก ๆ โดยดอกจำปีจะออกดอกได้ตลอดทั้งทั้งปี
ดอกจำปี
  • ผลจำปี ลักษณะของผลเป็นกลุ่มเมื่อแก่จะแห้งแตก ลักษณะคล้ายทรงไข่หรือทรงกลม บิดเบี้ยวเล็กน้อย ผลแก่มีสีแดงด้านในมีเมล็ดเล็ก ๆ สีดำประมาณ 1-4 เมล็ด
ใบจำปีผลจำปี

สรรพคุณของจำปี

  1. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก,ผล)
  2. ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ดอก,ผล)
  3. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  4. ช่วยบำรุงประสาท (ดอก)
  5. กลีบดอกมีน้ำมันหอมระเหย สามารถใช้ทาแก้อาการปวดศีรษะได้ (กลีบดอก)
  6. น้ำมันดอกจำปีมีสารที่ออกฤทธิ์ในการสงบประสาทและช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ (ดอก)
  7. ช่วยแก้อาการตาบวม (น้ำมันจากดอกจำปี)
  8. จำปี สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)
  9. ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ดอก,ผล)
  10. น้ำที่สกัดจากใบมีฤทธิ์ช่วยระงับอาการไอ หอบได้ แต่ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น (ใบ)
  11. ใบใช้ต้มแก้หลอกลมอักเสบเรื้อรัง (ใบ)
  12. ดอกช่วยบำรุงน้ำดี (ดอก)
  13. ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก,ผล)
  14. ใช้ต้มแก้ต่อมลูกหมากอักเสบ (ใบ)
  15. ช่วยบำรุงประจำเดือน (แก่น)
  16. ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ใบ)
  17. ดอกตูมใช้สำหรับการรักษาอาการหลังการแท้งบุตร (ดอกตูม)

ประโยชน์ของจำปี

  1. ใช้ปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ โดยสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  2. ดอกใช้ทำอุบะ ห้อยชาย พวงมาลัย
  3. ประโยชน์ของดอกจำปี ดอกใช้บูชาพระได้
  4. ดอกสามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
  5. ดอกสามารถนำใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอมได้
  6. ประโยชน์ของต้นจำปี เนื้อไม้ของต้นจำปี สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนได้